Breast Implant-Associated Anaplastic Large Cell Lymphoma (BIA-ALCL)

 

รศ.นพ.อภิชัย อังสพัทธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา

พญ.กุสุมา ตั้งอมตะกุล ผู้เรียบเรียง

วันที่ 6 กันยายน 2561

 Introduction

ในปัจจุบันการผ่าตัดเสริมเต้านมได้เกิดข้ึนอย่างแพร่หลาย มีการคาดการณ์ว่ามีผู้หญิงได้รับการผ่าตัดใส่เต้านมเทียม (breast implant) สูงถึง 10,000,000 คนทั่วโลกทั้งที่เกิดจากการผ่าตัดเสริมเต้านมเพื่อความสวยงาม (breast augmentation) และการผ่าตัดเสริมเต้านมหลังจากการตัดมะเร็งเต้านมออก (breast reconstruction)

American Society of Plastic Surgeons (ASPS) และ American Society for Aesthetic Plastic Surgery (ASAPS) ได้รายงานสถิติการผ่าตัดเต้านมในสหรัฐอเมริกาพบว่า มีการผ่าตัด breast augmentation ประมาณ 300,000 รายต่อปี และ breast reconstruction ประมาณ 150,000 รายต่อปี โดยในจานวนน้ีมีการใช้ซิลิโคนเต้านมชนิดผิวขรุขระประมาณ 12% มะเร็งต่อมน้าเหลืองที่เต้านม (primary breast lymphoma) เกิดข้ึนประมาณ 0.4-1% ของมะเร็งทั้งหมดที่เกิดบริเวณเต้านม ส่วนมากเป็นชนิด B-cell ซึ่งแตกต่างกับ Breast Implant-Associated Anaplastic Large Cell Lymphoma (BIAALCL) ที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด T-cell เกิดข้ึนสัมพันธ์กับการผ่าตัด เสริมเต้านมด้วยเต้านมเทียมชนิดผิวขรุขระ (textured surface silicone breast implant) ถูกรายงานคร้ังแรกในปี ค.ศ. 1997 โดย Keech และ Creech โดยมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวโรค การวินิจฉัย ตลอดจนวิธีการรักษา

″เกิดข้ึนสัมพันธ์กับการผ่าตัด เสริมเต้านมด้วยเต้านมเทียมชนิดผิวขรุขระ ″

″(textured surface silicone breast implant) ″

 

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2016 World Health Organization (WHO) ได้จัด BIA-ALCL เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหน่ึงที่แตกต่างจาก ALCL อื่นๆ Anaplastic Large Cell Lymphoma (ALCL) พบได้ประมาณ 2-3% ของ non-Hodgkin’s lymphoma โดย BIA-ALCL อยู่ ในกลุ่ม ALCL ที่เป็น anaplastic lymphoma kinase (ALK) negative มีอุบัติการณ์ (incidence) ประมาณ 2.03 รายต่อประชากร 1 ล้านคนต่อปี และความชุกของโรค (prevalence) ประมาณ 1 รายต่อประชากรผู้หญิง 30,000 คนที่ผ่าตัดใส่เต้านมเทียม

 

ผู้เขียน CUPS CHULA
CHULAPLASTICSURGERY ADMIN